นอกจากแหล่งเงินทุนที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาภายใต้การกำกับของรัฐแล้ว รัฐยังมีแหล่งเงินทุนให้กู้สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ เช่น เงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย(กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) เงินทุนหมุนเวียนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์(กรมประชาสงเคราะห์) เงินทุนหมุนเวียนการขยายการส่งเสริมร้านค้าในชุมชน (กรมการค้าภายใน)
ในเรื่องนี้หากสถาบันการเงินที่ผู้ประกอบการไปติดต่อขอกู้(ธนาคารพาณิชย์IFCTหรือ บอย.)พิจารณาเห็นว่าโครงการ หรือแผนธุรกิจที่เสนอขอกู้มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจแต่ติดปัญหาหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอจึงไม่อาจให้กู้ได้ กรณีเช่นนี้ ผู้ขอกู้ควรขอให้สถาบันการเงินที่ติดต่อขอกู้ส่งโครงการนี้ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
การจดทะเบียนเพื่อให้ห้างหุ้นส่วน เเละบริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลนั้นมาตรา 1064 เเละมาตรา 1077 เเห่งประมวลกฏหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้ต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นลงในคำขอเเละเอกสารการจดทะเบียนด้วย เเต่สำหรับบริษัทจำกัดเเม้จะไม่กฎหมายบังคับให้ต้องทำเช่นนั้นก็ตาม เเต่ตามมาตรา 1128 ได้บัญญัติให้ต้องประทับตราของบริษัทลงในใบหุ้นทุกใบของบริษัทด้วย
คนบางคนเป็นคนซื่อสัตย์ ขยันทำงาน มีความฉลาดเฉลียว มุมานะ เเต่ทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ดังตัวอย่างการทำธุรกิจของคุณกล้าณรงค์ เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน เเต่กลับทำธุรกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก คุณกล้าณรงค์ตัดสินใจทำธุรกิจเซรามิคประเภทออร์นาเม้นท์ที่เป็นของที่ระลึก โดยเรียนรู้วิธีทำจากการเข้าฝึกอบรมจากหน่วยงานราชการเเห่งหนึ่ง ซึ่งเเต่เดิมตนไม่มีความรู้ด้านนี้มาก่อน เพียงเเต่ มองหาธุรกิจที่จะลงทุน โดยหาความรู้จากการเข้าอบรมมาหลายธุรกิจ
นิคมอุตสาหกรรมมีข้อดีในแง่มีความพร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการตั้งโรงงานไม่ว่าสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ การบำบัดสิ่งแวดล้อม การขออนุมัติตั้งหรือขยายโรงงานทำได้เบ็ดเสร็จครบวงจรในตัวเอง
องค์ประกอบหลักในการพิจารณาเกี่ยวกับการเริ่มเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาตั้งแต่รูปแบบของธุรกิจว่า ประเภทใดเหมาะสม รวมทั้งตัวบทกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะการประกอบกจการทุกประเภทจะต้องอยู่ภายใตกฎหมาย ซึ่งมีบทบังคับแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจ ในที่นี้จะกล่าวประเด็นหลัก ๆ ของการตัดสินใจเพื่อเป็นข้อมูลประกอบ รูปแบบของธุรกิจ การจดทะเบียนจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ การจัดทำบัญชีตามกฎหมาย ภาษีอากรสำหรับธุรกิจ การขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ การขอก่อสร้างอาคารโรงงาน การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
เป็นประเภทที่เน้นตัวผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องหมายการค้า (Product and Trademark Franchising) เนื่องจากบริษัทให้สิทธิ์มีลักษณะพิเศษหรือมีชื่อเสียงในตัวสินค้าชนิดนั้น เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจเครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีตราสินค้าจากต่างประเทศ ธุรกิจเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น ประเภทที่ขายสิทธิ์ในด้านรูปแบบ และการจัดการธุรกิจ (Trade Format Franchise) เป็นธุรกิจร้านค้าปลีกหรือธุรกิจบริการ โดยผู้ซื้อจะซื้อชื่อเสียงของร้านค้า รวมถึงลิขสิทธิ์ของสินค้าและระบบการบริหารการจัดการ กลยุทธ์การตลาด การฝึกอบรมพนักงานที่เข้ามาดำเนินการธุรกิจเฟรนไชส์ประเภทนี้กำลังแพร่หลายมากในปัจจุบัน เช่น ร้านอาหารฟาสท์ฟู๊ด ซึ่งมีทั้งเฟรนไชส์จากต่างประเทศ และเฟรนไชส์ในท้องถิ่น ฯลฯ การร่วมทุนด้วย (Conversion Franchise) เป็นประเภทที่บริษัทให้สิทธิ์มาเข้าร่วมลงทุนด้วย แต่อาจจะเป็นประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่กล่าวมาแล้วก็ได้ ประเภทนี้จะช่วยผู้ที่มีเงินทุนไม่เพียงพอ การดำเนินงานจะถูกกำกับดูแลจากบริษัทให้สิทธิ์อย่างเข็มงวด ผลกำไรที่ได้จะต้องมาแบ่งกันกับบริษัทให้สิทธิ์ในฐานะเป็นหุ้นส่วน เช่น กิจการอาหารฟาสท์ฟู๊ด ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านขายยา โรงแรม ฯลฯ
เป็นการกล่าวนำถึงความเป็นมาของธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะลงทุน มีความสำคัญและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร และนักลงทุนทำไมถึงสนใจที่จะทำโครงการนี้ มีเหตุจูงใจอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปก็จะกล่าวถึงความสำคัญของธุรกิจนี้ จะเกิดประโยชน์แก่ชุมชนในรูปของการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คนมีรายได้ เป็นการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าเป็นการได้เงินตรามาสู่ท้องถิ่น หรือชุมชนจากการขายสินค้าและบริการ รวมทั้งเป็นการสร้างผลประโยชน์ในรูปกำไรให้แก่ผู้ประกอบการ
เอาสิ่งที่ชอบมาสรุปเป็นแนวคิดทางธุรกิจหลายประเภทแล้วทำการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ว่าประเภทใดบ้างที่มีความเป็นไปได้ สำหรับลงทุนธุรกิจนั้น และเหมาะสำหรับผู้ที่ลงทุนใหม่ที่ยังขาดปนะสบการณ์ ควรเป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนจนเกินไป ลงทุนต้องไม่สูงเกินไปและไม่เกินกำลังเงินทุนที่หาได้ และจะต้องเป็นสินค้าสามารถขายได้ในตลาดด้วย
มารู้จักกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ มีกิจการธุรกิจใหญ่น้อยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เจริญเติบโตมาจากธุรกิจขนาดย่อมมาก่อนทั้งนั้น เช่นบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์เดิมเริ่มต้นจากขายเครื่องพลาสติกเล็กๆ ในสำเพ็ง ต่อมาได้ตั้งโรงงานขึ้นมาผลิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเป็นพลาสติกประเภทเมลามีน ปัจจุบันส่งออกไปต่างประเทศหลายประเทศเป็นมูลค่าหลายร้อนล้านบาท ในอเมริกาหน่วยงาน Small Business Administration ได้ให้นิยาม SMEs ไว้ดังนี้ “กิจการค้าปลีกใดที่ยอดขายต่ำกว่าปีละ 1 ล้านเหรียญ หรือกิจการค้าส่งที่มียอดขายต่ำกว่าปีล่ะ 5 ล้านเหรียญ การค้าส่งบางชนิดต่ำกว่าปีละ 15 ล้านเหรียญ เมื่อพิจารณาอุตสาหกรรมที่มี ยอดขายไม่เกิน 5 ล้านเหรียญ (192.4 ล้านบาท)หรือมีคนงานต่ำกว่า 1500 คนในทุกประเภทธุรกิจ” ในประเทศญี่ปุ่น คำจำกัดความก็แตกต่างออกไป ตามประเภทธุรกิจโดยวัดได้จากขนาดและ วงเงินลงทุนเป็นอุตสาหกรรทชมเหมืองแร่ ขนส่ง และก่อสร้าง เงินลงทุ่นไม่เกิน .82 ล้านเหรียญดอลล่าห์ (31.7 ล้านบาท) พิจารณาจากการจ้างงานต้องไม่เกิน 300 คน สำหรับธุรกิจค้าส่ง เงินลงทุนไม่เกิน 30 ล้านเยน (9.5 ล้านบาท